กลุ่ม ภาคีนักกฏหมาย ได้ออกมาแถลงว่า การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการ ชุมนุม 17 พ.ย. นำไปสู่เหตุความรุนแรงจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 40 ราย ภาคีนักกฎหมาย สิทธิมนุษยชน แถลงการณ์เรื่อง “การจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และ/หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ระบุว่า จากเหตุสลายการ ชุมนุม ของคณะราษฎรและการปะทะกันระหว่างผู้ ชุมนุม กับมวลชนอีกฝ่ายเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ศูนย์เอราวัณรายงานยอดผู้บาดเจ็บรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายสิบราย โดยในแถลงการระบุว่า
“ในการชุมนุมหลายครั้งก่อนเหตุการณ์วันที่ 17 พ.ย. 2563
มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะพิสูจน์ทราบได้ว่าจะเกิดการทำร้ายร่างกายระหว่างที่มีการเผชิญหน้าของมวลชนทั้งสองกลุ่ม ผบ.ตร. หรือ ผบ.ชน. สามารถออกคำสั่งให้มีการดูแลความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ณ จุดที่มีมวลชนทั้งสองฝ่ายปักหลักอยู่
ดังจะเห็นได้จากภาพข่าวที่สื่อมวลชนรายงาน ปรากฏชัดเจนว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแนวกั้นอยู่ระหว่างผู้ ชุมนุม ทั้งสองกลุ่มอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ต่อมากลับมีการถอนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากจุดดังกล่าว จนเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ ชุมนุม ทั้งสองฝ่ายในเวลาประมาณ 17.00 น. แต่ท่านก็ยังเพิกเฉย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อไม่เข้าระงับเหตุ จนกระทั่งมีการปะทะกันอีกครั้งในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ ทำให้ผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรได้รับบาดเจ็บ และเป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากกระสุนปืนถึง 5 ราย
ข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และ/หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งท่านมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และในเวลา 16.00 น.ของวันนี้ จะมีการชุมนุมของกลุ่มราษฎรบริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งท่านมีหน้าที่ตามกฎหมายในการป้องกันเหตุอันตรายโดยการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดูแลความปลอดภัยในการชุมนุม”
ปืนใหญ่ฉีดน้ำ หรือ Water Canon ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะสลายการรวมกลุ่ม เพื่อปกป้องทรัพย์สินหรือหยุดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง โดยทั่วไปแล้ว ปืนใหญ่ฉีดน้ำควรจะใช้ในสถานการณ์ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าจะนำไปสู่การเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส หรือการทำลายทรัพย์สินอย่างรุนแรงในวงกว้าง “เท่านั้น” โดยวัตถุประสงค์ที่จำเป็นและได้สัดส่วน การตระเตรียมการใช้ปืนใหญ่ฉีดน้ำควรจะต้องวางแผนการอย่างดี และควรใช้ภายใต้คำสั่งที่เคร่งครัด ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมถึงการใช้ปืนใหญ่ฉีดน้ำนั้นต้องให้ผลที่ไม่เฉพาะเจาะจง ไม่สามารถใช้แบบเล็งไปที่ตัวบุคคลโดยเฉพาะได้
การใช้สารที่ก่อและความระคายเคืองทางเคมี (Chemical Irritants) ต้องใช้จากระยะไกลต่อกลุ่มคนที่เข้าร่วมก่อความรุนแรง มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชุมนุมกระจายตัวและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
สาม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ข้อ 21 กำหนดว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้ นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
จากการติดตามสถานการณ์ของไอลอว์ พบว่าการชุมนุมวันนี้ ยังไม่ปรากฎว่ามีการใช้ความรุนแรงถึงขนาดที่จะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยอย่างร้ายแรงจนถึงขั้นอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากการชุมนุมของผู้ชุมนุมในครั้งนี้เป็นไปโดยความสงบ ปราศจากอาวุธ การกระทำของเจ้าหน้าที่จึงถือว่าเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนอย่างสิ้นเชิง
ศูนย์เอราวัณ ปรับตัวเลข ผู้ได้รับบาดเจ็บ จาก ชุมนุม 17 พ.ย. เป็น 55 ราย
จากกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมนำโดยคณะราษฎรที่นัดรวมตัวกันบริเวณรัฐสภา แยกเกียกกายเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา และถูกตำรวจให้น้ำฉีดสะกัด รวมถึงการใช้แก๊สน้ำตา ทั้งยังมีการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อเหลือง และตอนดึกมีเหตุความไม่สงบของการลอบทำร้าย
ล่าสุดศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร รายงานว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุที่แยกเกียกกาย ในการ ชุมนุม 17 พ.ย. ทั้งหมด 55 ราย โดยส่วนใหญ่ 50 ราย เป็นอาการบาดเจ็บจากการถูกแก๊สน้ำตา ส่วนที่เหลืออีก 5 ราย มีอาการบาดเจ็บจากรอยคล้ายกระสุนปืน
ขณะนี้ยังคงมีผู้รับการรักษาตัว ที่ได้บาดเจ็บจากรอยคล้ายกระสุนปืนอยู่ที่โรงพยาบาลวชิระ 1 ราย และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 1 ราย ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันที่ 17 พ.ย. ผบช.น. ได้รายงานว่ามี ผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการชุมนุม ทั้งหมด 41 ราย
โดยตั้งแต่การพิจารณาร่าง พ.ร.ก. กระทั่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภา พรรคฝ่ายค้าน ต่างระบุ เหมือนเป็นการตีเช็คเปล่าให้นายกฯพล.อ. ประยุทธ์ จันโอชา ไปใช้ โดยไม่มีรายละเอียด ตาม 3 แผนงานหลัก และเอกสารรายละเอียด ก็มีเพียงกระดาษ 4-5 หน้าเท่านั้น
แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี